28 มิถุนายน 2568
💕สสจ.นครสวรรค์ ชวนร่วมงาน ‘มหกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธรรมชาติ’ (Natural Health Product Expo)รวมของดีจากสมุนไพรท้องถิ่นสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สุขภาพ📢จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27–29 มิถุนายน 2568 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์🥬
นายเศวต เพชรนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ หรือ นายจักราวุธ จุฑาสงฆ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า สสจ.นครสวรรค์ เตรียมจัดงาน“มหกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธรรมชาติ (Natural Health Product Expo)”ภายในงานพบกับผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธรรมชาติ อาทิ อาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ผ่านการส่งเสริมและพัฒนาให้ได้มาตรฐาน และกิจกรรมความรู้ความบันเทิงอีกมากมายโดยมีไฮไลต์พิเศษในงาน อาทิ- กิจกรรม “Pharmacist Anywhere” ให้ความรู้โดยเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ- เวทีเสวนา ยกระดับสมุนไพรไทย สู่การเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐาน- การให้คำปรึกษาการขออนุญาตผลิต นำเข้า อาหาร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพร- กิจกรรมอาหารปลอดภัย ตรวจสารปนเปื้อนด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นฟรี และร่วมลุ้นของที่ระลึกจากกิจกรรมภายในงานกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์และหน่วยงานภาคีที่เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธรรมชาติอย่างปลอดภัย เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสมุนไพรไทย และเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ผลิตในชุมชน ย้ำว่า งานนี้คนรักสุขภาพไม่ควรพลาดสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) อาคาร2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ 782 หมู่10 ถนนพหลโยธิน ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000โทร : 056-232001 ต่อ 163-164 หรือ 061-2791199
27 มิถุนายน 2568
### สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ จัด ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขา ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ 1 ###
วันที่ 27 มิถุนายน 2568 นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ มอบหมายให้กลุ่มงานมาตรฐานฝีมือแรงงานและรับรองความรู้ความสามารถ ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพเครื่องจักรกลและการผลิต สาขาช่างเชื่อม อาร์กโลหะด้วยมือ ระดับ1 ให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานจำนวน 18 คน ณ บริษัทเกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัดนครสวรรค์ (สำนักงาน คปภ.จังหวัดนครสวรรค์) จัดกิจกรรมโครงการยุวชนนักสื่อสารประกันภัยรุ่นใหม่ ปี 2568 ภายใต้แนวคิด"ครูประกันภัย" มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 3 โรงเรียน คือ-จัด
วันที่ 16 มิถุนายน 2568 ที่โรงเรียนหนองกรดพิทยาคม -วันที่ 18 มิถุนายน 2568 ที่โรงเรียนสตรีนครสวรรค์-วันที่ 20 มิถุนายน 2568 ที่โรงเรียนลาดยาววิทยาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย เทคนิคสำหรับการเป็นนักสื่อสารประกันภัยรุ่นใหม่ การเสริมสร้างทักษะความรู้ทางการเงิน#คปภ.ปากน้ำโพ#สร้างความรู้
คปภ.เมืองสี่แคว จัดโครงการเสริมสร้างพันธมิตร และพัฒนาเครือข่าย เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยทั่วประเทศ
วันที่ 25 มิถุนายน 2568 ที่ห้องประชุมโรงเรียนเก้าเลี้ยววิทยา อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ นายบดินทร์ เกษมศานติ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการเสริมสร้างพันธมิตร และพัฒนาเครือข่าย เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยทั่วประเทศ ประจำปี 2568 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้จัดการสาขา ผจก.ธกส.สาขานครสวรรค์-เก้าเลี้ยว บริษัทประกันภัย กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)และกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP เข้าร่วมกิจกรรม สืบเนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)นครสวรรค์ ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างพันธมิตร และพัฒนาเครือข่าย เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยทั่วประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ผู้ประกอบการ ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถใช้สิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย ได้อย่างถูกต้อง และนำความรู้ที่ได้รับ ไปขยายผลต่อชุมชน ภายในการอบรมมีการจัดเสวนาให้ความรู้กับเครือข่ายและกิจกรรมเล่นเกมส์ และสนับสนุนหมวกนิรภัย การจัดนิทรรศการให้ความรู้ของหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจประกันภัย รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญด้านการประกันภัย โดยเฉพาะการทำ พ.ร.บ.ภาคบังคับในรถทุกประเภท ที่ให้ความคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถโดยให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกคนที่ประสบเหตุจากรถทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า ฯลฯ รวมไปถึงหากเกิดความเสียหายถึงชีวิต ทรัพย์สิน ก็จะได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน#รอบรั้วภูธรซีซั่น 2 (0619782952-0838823240)
📌📌📌สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ จัดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 📌📌📌
วันที่ 25 มิถุนายน 2568 นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ มอบหมายให้กลุ่มงานมาตรฐานฝีมือแรงงานและรับรองความรู้ความสามารถดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 ให้กับบุคคลทั่วไป ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2568 จำนวน 13 คน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์#สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน8นครสวรรค์#สร้างอาชีพ
ม.เจ้าพระยาจัดแข่งขันหุ่นยนต์ และกีฬาอีสปอร์ตระดับอาเซียน ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานฯ ครั้งที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และเซ็นทรัล
นครสวรรค์มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา นครสวรรค์จัดการแข่งขันหุ่นยนต์และกีฬาอีสปอร์ต ระดับอาเซียน ชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ครั้งที่ 3 (The Princess Maha Chakri Sirindhorn's Cup and The Princess Ubol Ratana's Cup CPU 3rd ASEAN GRAND PRIX YOUTH ROBOTICS & ESPORTS COMPETITION 2025) ในวันที่ 9-10 ก.ค. พ.ศ. 2568 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ และ วันที่ 11-13 ก.ค. พ.ศ.2568 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ดร.ดารัตน์ ศิริวิริยะกุล วิภาตะกลัศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา แถลงข่าว ว่า มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาร่วมกับภาคีเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งภาคราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ภาคเอกชน และเครือข่ายความร่วมมือด้านหุ่นยนต์ เช่น ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย และชมรมวิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย จัดการแข่งขันหุ่นยนต์และกีฬาอีสปอร์ตระดับอาเซียน ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ครั้งที่ 3 “นครสวรรค์เมืองอัจฉริยะ ฐานการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงต่อยอดอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ ศูนย์กลางการค้าการลงทุนระบบโลจิสติกส์ และบริการทางสุขภาพบนฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน” และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด หัวข้อ "การจัดการศึกษาและเพิ่มทักษะเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต"อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา กล่าวต่อว่า การศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านหุ่นยนต์ของนักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษา จะก่อให้เกิดทักษะด้านการออกแบบ การเรียนรู้วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น การเรียนรู้โครงสร้างทางวิศวกรรม ก่อให้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์แก่เยาวชนให้ “คิดเป็น ทำเป็น” ซึ่งจะส่งผลถึงการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสามารถสืบทอดถึงการประกอบอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา เจ้าภาพโครงการแข่งขันในครั้งนี้ ที่มุ่งหมายให้นักเรียน นักศึกษาและเยาวชนได้เรียนรู้วิธีการออกแบบหุ่นยนต์ เรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ การใช้เครื่องมือช่าง การใช้ทักษะด้านกลศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จนสามารถนำความคิดสร้างสรรค์และโลกทัศน์ที่กว้างไกลไปบูรณาการในการศึกษาและการประกอบอาชีพในอนาคตกลุ่มเป้าหมายในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ คาดว่าจำนวนเยาวชนผู้เข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์และกีฬาอีสปอร์ตที่มาจากสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ รวมทั้งผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และกองเชียร์ จะมีจำนวนประมาณ 3,000 คน เช่นเดียวกับการแข่งขันในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ที่ผ่านมา ซึ่งน่ายินดีที่จะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในจังหวัดนครสวรรค์ในห้วงเวลา 5 วันของการแข่งขัน ทั้งร้านอาหาร ร้านขายของฝาก-ของที่ระลึก โรงแรมที่พัก ผู้ประกอบการด้านต่างๆ ในตลาดปากน้ำโพ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ อาทิ บึงบอระเพ็ด พาสาน (อาคารสัญลักษณ์ “ปากน้ำโพ” ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา) ตลาดคนเดิน (ต้นแม่น้ำเจ้าพระยายามเย็น) วัดคีรีวงศ์ ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ วัดวาอารามต่างๆ รวมทั้งกิจการด้านการคมนาคม และอื่นๆ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาที่ได้มีส่วนร่วมในการอำนวยประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจในท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศอยู่ในสภาพที่มีปัญหาอีกด้วย “ผลสำเร็จจากการจัดการแข่งขันฯหุ่นยนต์และกีฬาอีสปอร์ตระดับอาเซียนที่เกิดขึ้นในทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งในด้านการศึกษา วิชาการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และคุณูปการต่อชุมชน สังคม และท้องถิ่น คือแรงบันดาลใจให้มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้มุ่งจัดการแข่งขันนี้ให้ทวีคุณประโยชน์และประสบความสำเร็จในทุกๆด้านยิ่งขึ้น สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่สนใจสมัครเข้าแข่งขัน สามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2568 โดยสามารถศึกษารายละเอียดการแข่งขันได้ที่ https://cpu-robot.cpu.ac.th/ หรือ CPU ASEANYouth Robotics. หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-1886-8474 , 056-245501 หรืออีเมล : asyrobo-esp@cpu.ac.th โดยทางมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาจะพยายามให้โอกาสรับสมัครทุกๆทีมให้เข้าร่วมการแข่งขันให้ได้มากที่สุดดังที่ปีนี้ก็ได้มีการขยายวันแข่งขันให้มากขึ้นอีก แต่ก็เชื่อว่ายังไม่เพียงพอและยังจำเป็นต้องปิดรับสมัครโดยไม่อาจสนองความต้องการของผู้สนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดได้อย่างน่าเสียดายอีก” อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยากล่าว
26 มิถุนายน 2568
***สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ จัดฝึกอบรม โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการ สาขา การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย ****
วันที่ 25 มิถุนายน 2568 นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ มอบหมายให้ นางสุวารินทร์ จันทรา ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดฝึกอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการสู่ความยั่งยืน การฝึกอาชีพเสริม หลักสูตรการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสำหรับผู้พิการทางการเห็น จำนวน 18 ชั่วโมง ให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 20 คน รุ่นที่ 2/2568 ระหว่างวันที่ 25 - 27 มิถุนายน 2568 ณ ศูนย์บริการคนตาบอดจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์#รอบรั้วภูธรซีซั่น2 (0619782952-0838823240)
โครงการเพิ่มทักษะแรงงานอิสระและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ
วันที่ 25 มิถุนายน 2568 นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ มอบหมายให้ นางสุวารินทร์ จันทรา ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบเครื่องมือทำมาหากินให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรมตามโครงการเพิ่มทักษะแรงงานอิสระและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ กิจกรรมพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลเพื่อการประกอบอาชีพ การฝึกยกระดับฝีมือ หลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ฝึกอบรมเมื่อวันที่ 19 - 23 พฤษภาคม 2568 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเนินกว้าว อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์#รอบรั้วภูธรซีซั่น2 (0619782952-0838823240)
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เดินหน้ารับฟังความคิดเห็น "ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิ.อาญา" ต่อเนื่องจัดเวทีเสวนาภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ที่นครสวรรค์
วันที่ 26 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์ฝึกตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) โดย พล.ต.ต.อ.กิดดิ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.นิรันดรเหลื่อมศรี รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รับผิดชอบงานด้านกฎหมายและคดี) ร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการหัวข้อ "การคุ้มครองสิทธิของประชาชน บนเส้นทางการสืบสวนสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา" เพื่อรับฟังความคิดเห็น จากประชาชนและหน่วยงานในกระบวนการยุติธธรรมต่อร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อาญา (ร่างของ ส.ส.พรรคประชาชน) ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน โดยมี พล.ต.ท.กิติศักดิ์ ดรงควิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 พล.ต.ท.วสันต์ วัสสานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโนกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ พล.ต.ท.ดำรงค์ เพ็ชรพงค์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ ตร. พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชาระดับรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ในสังกัด ตำรวจภูธรภาค 5 และ ภาค 6 ร่วมงานเสวนาการจัดเวทีเสวนาครั้งนี้นับเป็นเวทีครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากที่ ตร. จัดเสวนาอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ภาคกลาง (ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จ.นครปฐม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเป้าหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็นที่มีต่อร่างกฎหมาย ให้รอบด้าน ครอบครองทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ภายในงาน ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในกระบวนการอภิปราย ได้แก่ ท่านเปรมศักดิ์ ศรีนวล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครสวรค์ , พล.ต.ต.ดำรงค์ เพ็ชรพงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดร.ชำนาญ ชาดิษฐ์ กรรมการอำนวยการ สำนักงานกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และทนายความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เครือวัลย์ อินทรสุช ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ นายโสหส วัฒนศิลป์ กต.ตร.จังหวัดนครสวรรรค์ และ พ.ต.อ.ดร.เทิดสยาม บุญยะเสนาผู้กำกับการ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5 การเสวนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 300 คน ประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ภาคประชาชน นักศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครสวรค์และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนพนักงานสอบสวนและข้าราชการตำรวจในสังกัด ภ.5 และ ภ.6 ภายหลังการเสวนาในภาคเช้า ยังมีกิจกรรมสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อระดมความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนข้อเสนอในการพัฒนางานสอบสวนจากผู้ปฏิบัฏิบัติสำหรับร่าง แก้ไข ป.วิ.อาญา มีสาระสำคัญคือ การให้อัยการมีอำนาจกำกับดูแลงานสืบสวนสวนสอบสวน เช่น ในการสืบสวนเมื่อพบเหตุต้องแจ้งให้พนักงานอัยการทราบทันที การออกหมายเรียก หรือขอศาลออกหมายจับ ต้องให้พนักงานอัยการให้ความเห็นชอบก่อน รวมถึงให้อำนาจพนักงานอัยการมากำกับการสอบสวบสวนในคดีสำคัญ หรือคดีที่มีการร้องขอความเป็นธรธรรม ซึ่งในเวทีเสวนาวันนี้หลายฝ่ายได้แสดงความเห็นว่า ขั้นตอนการปฏิบัติที่ร่างกฎหมายกำหนด อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการสอบสวน เพราะกระบวนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่าง พนักงานสอบสวน อัยการ และศาล ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เป็นผู้เสียหายทำให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ล่าช้าขึ้น ย่อมจะกลายเป็นความไม่ยุติธรรม (Justice delayed is justice denied) ยกตัวอย่างคดีในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งต้องมีการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดเพื่อป้องการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน หากน้ำขั้นตอนการปฏิบัติตามร่างกฎหมายมาใช้ อาจไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ ในการสืบสวนสอบสวน จับกุม ตรวจค้น คดียาเสพติดได้ในพื้นที่ได้ นอกจากนี้ในวงเสวนายังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องงบประมาณของรัฐที่จะต้องจัดสรรเพิ่มเติมให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงสำนักงานอัยการ ในการจัดหาบุคลากร ทรัพยากรต่างๆ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มเติม เพื่อรองรับภาระงานต่างๆที่มีเพิ่มขึ้นจากร่างกฎหมายนี้ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่มีการแลกเปลี่ยนกันกันในการเสวนา คือ การแก้ไขกฎหมายต้องมีเหตุผลและความจำเป็นที่เหมาะสม แต่การเสนอแก้ไข ป.วิ.อาญา ครั้งนี้ เป็นการยกปัญหาเป็นข้อบกพร่องส่วนบุคคลในงานสอบสวนแค่บางส่วน แต่มาเสนอแก้หลักการของกฎหมายแม่บท ทั้งที่การแก้ไขปัญหานั้นสามารถดำเนินการผ่านกลไกการประสานงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หรือการแก้ไขระเบียบและคำสั่งที่เกี่ยวข้องเป็นการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เหมาะสม และรวดเร็วกว่า โดยไม่จำเป็นต้องไปแก้ไข ป.วิ.อาญาให้ไปกระทบหลักการของระบบกฎหมายอาญาที่เป็นระบบกล่าวหาของประเทศไทยทั้งระบบโดยไม่จำเป็นนอกจากนั้น ร่าง ป.วิ.อาญาฉบับแก้ไข เน้นประเด็นการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาค่อนข้างมาก ทั้งที่โดยหลักแล้วการยุติธรรมต้องมีความสมดุลกันระหว่าง ผู้เสียหายและผู้ต้องหา และยังต้องคำนึงถึงมิติกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมอาชญากรรม (Due process) ตามหลักอาชญาวิทยาด้วย หากร่างกฎหมายบางประเด็น จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในกลไกของกระบวนการดำเนินคดี และกับมาตราอื่นๆ ที่ไม่ได้เสนอแก้ไขในคราวเดียวกันนี้อีกด้วย อาจเกิดความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติ สุดท้ายย่อมส่งผลกระทบให้เกิดความล่าช้าในการสอบสวนโดยไม่จำเป็น และส่งผลเสียต่อประชาชนผู้เสียหายในที่สุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รวบรวมผลการเสวนาทั้ง 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ นำมาจัดทำเป็นเล่มรายงานทางวิชาการ 4 ฉบับ เพื่อเป็นข้อมูลการทำความเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งเผยแพร่ให้ผัูสนใจได้ศึกษาข้อมูลผลการเสวนาดังกล่าวต่อไป#สำนักงานตำรวจแห่งชาติ#ตำรวจภูธรภาค.6#ตำรวจนครสวรรค์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
น่าน - Nan Pride Festival 2025 รวมพล LGBTQ+ เดินขบวนพาเหรด เฉลิมฉลองความเท่าเทียม
ค่ำวานนี้ 5 ก.ค. 68 ที่ลานข่วงน้อย ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นางวิไลวรรณ บุดาสา รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธ...
-
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 กันยายน 2567 ตัวแทน เกษตรกร อำเภอตากฟ้า ตาคลี ไพศาลี และอำเภอท่าตะโก และเกษตรกร ที่ได้รั...
-
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พศ 2567 นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ประธานกรรมาธิการปกครอง และคณะกรรมาธิการปกครอง ได้เชิญสมาคมกำนัน/คณะก...
-
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2567 เวลา 18.00 น ที่ทำเนียบรัฐบาล นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล พร้อมภรรยา ร่วมงานสโมสรสันนิบาต เฉล...