31 มกราคม 2566

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์มอบทุนพระราชทาน เพื่อการศึกษาสงเคราะห์แก่นักเรียนทุนพระราชทาน​

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 พล.ต. สาธร ศิริยานนท์ ผบ.มทบ.31/ผอ.ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.31  มอบหมายให้ พ.อ. ประวิทย์ พูลเทียบรัตน์ หก.กกร.มทบ.31/หน.ฝปชส.ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.31/จิตอาสา 904 เป็นผู้แทนฯ ร่วมคณะการตรวจเยี่ยมนักเรียนทุนพระราชทานเพื่อการศึกษาสงเคราะห์ ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งเป็นนักเรียนทุนครอบครัวประสบสาธารณภัย และนักเรียนทุนประเภทเรียนดีจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ในพื้นที่ จว.น.ว. จำนวน 16 คน  โดยมี จิตอาสา 904 จ.นครสวรรค์  พมจ.น.ว. ร่วมคณะในครั้งนี้ฯ และมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ให้การต้อนรับ🐅ต้อย​ รอบ​รั้ว​ภูธร​0619782952​🐅

นายอำเภอกระนวน กำชับข้อราชการฝ่ายปกครอง เร่งทำหน้าที่ตอบสนองนโยบายจังหวัดขอนแก่น เพื่อบำบัดทุกข์ให้แก่ประชาชน

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 เวลาประมาณ 14.00 - 16.30 น. ที่ว่าการอำเภอกระนวน นายคเณศวร เกษอินทร์ นายอำเภอกระนวน ประชุมข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างฝ่ายปกครอง เพื่อซักซ้อมติดตามผลปฏิบัติราชการ ดังต่อไปนี้      1. การแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้ปรับเปลี่ยนหน้าที่ โดยให้มีผู้รับผิดชอบ ฝ่ายความมั่นคง 2 คน เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด โดยให้ปฏิบัติงานเชิงรุก สนับสนุนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการลาดตระเวนรักษาความสงบเรียบร้อย และ เพิ่มบทบาทในการสืบสวน ปราบปราม ให้ปรากฎผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม พร้อมให้ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ร่วมสนับสนุนภารกิจป้องกันปราบปราม      2. การร่วมกันดูแลรักษาความสะอาดรอบบริเวณที่ว่าการอำเภอ และ พัฒนาทัศนียภาพอาทิ เปลี่ยนโคมไฟที่ชำรุดรอบบริเวณองค์พระพุทธรูป ด้านหน้าที่ว่าการอำเภอ ปลูกต้นรวงผึ้งทดแทนต้นที่ตาย การทาสีรั้ว เป็นต้น       3. การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ขอให้จัดเก็บข้อมูลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนทุกพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับแก้ไขปัญหา ตั้งแต่ ประมาณการค่าใช้จ่าย ตลอดจนถึง การขออนุญาตใช้พื้นที่        4. การแก้ไขปัญหาการเผาพื้นที่ทางการเกษตร โดยหากมีกรณีร้องเรียน ให้ดำเนินการตามกฎหมาย และให้สร้างการตระหนักรับรู้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน       5. การจัดการระบบน้ำประปาในพื้นที่อำเภอกระนวน มีการดำเนินการอย่างไร และ มีจำนวนน้ำเพียงพอกับการใช้งานของประชาชน หรือ อยู่ในห้วงการพัฒนา        6. การเตรียมความพร้อมบริจาคโลหิต ห้วงเดือนเมษายน 2566 เพื่อดูแลกระชาชนที่เข้าร่วมบริจาคโลหิตให้ดีที่สุด         7. ให้เตรียมพร้อมดำเนินการสำรวจกองทุนต่างๆ ในหมู่บ้าน          8. กำชับการวางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้ง สำหรับ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ซึ่งมีกฎหมายกำกับควบคุมไว้       9. การติดตามแก้ไขปัญหาความยากจน ให้มีการจัดระบบปัญหาที่แท้จริง และ นำข้อมูลเป็นรายบุคคล นำสู่การพิจารณาบูรณาการแก้ไขปัญหากับทุกหน่วยงาน - ภาพ : ข่าว สราวุธ อ่อนทรวงรายงานข่าวจากอำเภอกระนวนจังหวัดขอนแก่น

นายอำเภอกระนวน เยือนน้ำตกบ๋าหลวงพร้อมร่วมสนับสนุนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อส่งมอบธรรมชาติที่สวยงามให้คนรุ่นหน้า

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 ห้วงบ่าย นายคเณศวร เกษอินทร์ นายอำเภอกระนวน เดินทางมาที่วนอุทยานน้ำตกบ๋าหลวง ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เพื่อเยี่ยมชมการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่ โดยมี นายบุญภักษ์ เหลาดวงดี เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า พร้อมทีม ให้ข้อมูลว่า วนอุทยานแห่งนี้อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 8 (ขอนแก่น) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพพื้นที่เป็นป่าดงดิบ ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ มีลานหิน และ น้ำตกที่สวยงาม มีเนื้อที่จำนวนกว่า 1,000 ไร่ โดยในแต่ละปี จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยว ประมาณปีละ 20,000 - 40,000 คน เพื่อชมความงดงามของธรรมชาติ โดยผู้เข้าเยี่ยมชมจะสามารถเดินศึกษาพื้นที่ได้เป็นระยะทางร่วมกว่า 10 กิโลเมตร ดังนั้น จึงมีการจัดเตรียมพัฒนาในด้านอาคาร สถานที่เพื่อให้สอดรับกับการจัดการท่องเที่ยว ซึ่งในห้วงนี้ จะมีสถานศึกษานำนักเรียนมาออกค่ายลูกเสือ ทั้งนี้ นายอำเภอกระนวน ในบทบาทของประธานกรรมการที่ปรึกษาวนอุทยานน้ำตกบ๋าหลวง พร้อมร่วมมือสนับสนุนกับภาคีเครือข่าย และ ทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการ ดูแลอนุรักษ์ และ ร่วมส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รักษาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และ ระบบนิเวศน์ และ ดูแลอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย รวมทั้ง สร้างโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนา และ สร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อร่วมกันส่งต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติที่งดงามให้กับคนรุ่นหน้า

อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่วันเด็กย้อนหลังมอบผ้าห่มกันหนาวและขนมของเล่นให้เด็กๆบนดอยสูง​

31 มกราคม  2566เจ้าหน้าที่ชุดกู้ภัยมูลนิธิสงเคราะห์เชียงใหม่ ได้นำเอาเจ้าหน้าที่ชุดกู้ภัย แม่โจ้ กู้ภัยฝาง กู้ภัยอำเภอเมือง มูลนิธิสงเคราะห์เชียงใหม่  ไปจัดวันเด็กย้อนหลังให้กับเด็กๆ 200 คน พร้อมกับมอบสิ่งของ ขนม อาหาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว ของเล่น ให้กับเด็กๆบนดอยสูงบ้านห้วยต้นตอง ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง เป็นอีกหมู่บ้านที่มีชนเผ่าลีซูอาศัยอยู่ประมาณ 200 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ชุดกู้ภัยมูลนิธิสงเคราะห์เชียงใหม่ได้นำเด็กๆเล่นเกมสนุกสนานพร้อมกับมอบรางวัลให้กับทุกคนทั้งที่ออกมาเล่นเกมและนั่งชม ยังให้เจ้าหน้าที่และคุณครูของโรงเรียนบ้านห้วยต้นตอง ร่วมเล่นเกมสนุกสนานให้กับเด็กๆชม เด็กทุกคนมีความสุข และได้รับสิ่งของขนม ของเล่นใสย่ามกลับบ้านอย่างมีความสุข  ในหมู่บ้านนี้ห่างไกลจากในเมืองไชยปราการประมาณ 40 กิโลเมตร ถนนหนทางเป็นถนนลาดยางมีหลุ่มมีบ่อเป็นปกติเพราะน้ำป่ากัดเซาะพังตามกาลเวลาขับรถต้องระมัดระวังกันมาก เด็กๆน้อยคนที่จะได้มีโอกาสเล่นเกมสนุกๆและมีเครื่องเล่นขนม ที่แตกต่างจากในเมือง การขาดแคลนเครื่องกันหนาวนั้นก็มีทุกปี อันเก่าก็ฉีกขาดไป เจ้าหน้าที่ชุดกู้ภัยมูลนิธิสงเคราะห์เชียงใหม่ ได้นำทั้งผ้าห่มกันหนาว เสื้อผ้าเด็ก ของเล่นเด็กมามอบให้กับทางคณะครูเพื่อแจกกับครอบครัวเด็กๆซึ่งมีตามรายชื่อที่คณะครูได้สำรวจเอาไว้แล้วล่วงหน้า ของเล่นบางอย่างมอบให้กับทางโรงเรียนเพื่อใช้กับนักเรียนในโรงเรียนฝึกทักษะสมองในการเล่นการคิด  ถือว่าเด็กๆได้รับสิ่งที่ขาดหายไปในช่วงวันเด็กที่ผ่านมาได้มาเล่นสนุกและขนมต่างๆทุกคนในวันนี้ เจ้าหน้าที่ต้องขับรถมากางเต้นนอนกันเพื่อให้เด็กๆมีความสุข🐅สำราญ​ แสงสงค์​🐅

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกตรวจเยี่ยมงานการส่งกำลังบำรุง กองบัญชาการช่วยรบที่ 3

วันที่ 31 มกราคม 2566 ที่ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก  ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการส่งกำลังบำรุง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 โดยมี พลโท สุริยะ  เอี่ยมสุโร แม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมด้วย พลตรี กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ร่วมให้การต้อนรับ    โดยผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและคณะ ได้เข้ารับฟังบรรยายสรุปภารกิจของกองพันซ่อมบำรุงที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3  ปัญหาข้อขัดข้องทางการซ่อมบำรุงของหน่วย พร้อมกับรับทราบความก้าวหน้าของงานด้านการซ่อมบำรุง จากนั้นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกเดินทางไปตรวจเยี่บมคลัง สป. 2 - 4 ของกองพันส่งกำลังบำรุงที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ทั้งนี้ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้เน้นย้ำให้หน่วย ได้ใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า พัฒนาระบบการส่งกำลังบำรุงให้สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพบกได้ 🐅ต้อย​ รอบ​รั้ว​ภูธร​0619782952​🐅

รุ่น 2 อบรมวัยรุ่นนายก อบจ. เปิดอบรม รุ่น 2 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้กับนักเรียนในสถานศึกษา สังกัด อบจ. ประจำปีงบประมาณ 2566

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 31 มกราคม 2566 ที่ห้องประชุม 72 พรรษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมโครงการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้กับนักเรียนในสถานศึกษา สังกัด อบจ.นครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2566 รุ่นที่ 2อบจ.นครสวรรค์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมของวัยรุ่น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้กับนักเรียนในสถานศึกษา โดยมีผู้เข้ารับการอบรม เป็นนักเรียน ชั้น ม.2 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย(จิรประวัติ) นครสวรรค์ จำนวน 50 คน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร รวมถึงการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง เพื่อให้ถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนในสถานศึกษา พัฒนาหลักสูตรเพศวิถีศึกษา ที่เหมาะสมในทุกช่วงชั้น รวมทั้งสนับสนุนให้มีแกนนำนักเรียนในการเฝ้าระวัง ช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนด้วยกัน โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ นายชนวีร์ สีชมภู จากมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (Path 2 health) เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แนวคิด “เพศวิถีศึกษา” “การอ่านแผนเพศวิถีศึกษา ความรู้แบบเริ่มที่ผู้เรียน” และ ”กิจกรรมกลุ่ม การระดมความคิดเห็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ ” ทั้งยังมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ร่วมปฏิบัติ ร่วมแสดงความคิดเห็นนายก อบจ.นครสวรรค์ กล่าวว่า "การมีแฟนในวัยเจริญพันธุ์นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่หากเกิดการพลาดพลั้งตั้งครรภ์ในวัยเรียนขึ้นมาจะเรียนหนังสือลำบาก การที่วาดฝันอนาคตไว้ตามที่ต้องการ อนาคตจะดับไป หากมีครอบครัวในวัยเรียน เด็กนักเรียนที่เริ่มเป็นวัยรุ่นมีแฟนได้ แต่ควรที่จะเป็นเพื่อนที่รู้ใจช่วยเหลือพึ่งพากันไปเล่าเรียน แล้วพากันไปสู่เป้าหมายของแต่ละคนที่วาดฝันไว้ ตั้งเป้าหมายในชีวิตให้เข้มแข็งและมั่นคง และขอขอบคุณวิทยากร คณะครู เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ และขอฝากข้อคิดเตือนใจนักเรียนไว้ว่า ชีวิตอาจสะดุดล้มลง เพราะความพลั้งเผลอได้ ขอให้ระมัดระวัง รอบคอบในการใช้ชีวิตเพื่ออนาคตที่ดี"ชาติชาย/นครสวรรค์

◇◇◇ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 43 ตาก "รุกส่งเสริมสถานประกอบการ จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตามมาตรา 26"◇◇◇

วันที่ 31 มกราคม 2566 นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 43 ตาก ได้มอบหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานตามมาตรา 26 สาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาพนักงานเปลี่ยนยางรถยนต์ ระดับ 1 ให้แก่บริษัท จรัญออโต้ กรุ๊ป จำกัด  โดยมีนายธนกฤต ศรีสุข ผู้จัดการบริษัท จรัญออโต้ กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้รับมอบ ทั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 43 ตาก ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานตามมาตรา 26  เป็นการจัดทำข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขานั้น ซึ่งสถานประกอบกิจการสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนสรรหา คัดเลือกและพัฒนาบุคลากรเข้าทำงานได้เหมาะสม พัฒนาผลิตภาพและการบริการ ลดการสูญเสียวัสดุ อุปกรณ์ ลดอุบัติเหตุ ที่มาจากการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ และหากนำมาตรฐานฝีมือแรงงานดังกล่าว ไปใช้ในการทดสอบให้แก่ลูกจ้างของสถานประการ 🐅ต้อย​ รอบ​รั้ว​ภูธร​0619782952​🐅

ข่าวแพร่​ พ่อเมืองแพร่เยือนตำบลสะเอียบเปิดโครงการส่งเสริมการไถกลบและผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการปล่อยก๊าซ ลดการเผาตอซัง และหมอกควัน

เมื่อเวลา 09.00 น.ของวันที่ 31มกราคม พ.ศ.2566 ที่บริเวณท้องนา ข้างปั๊มนำมัน เขตพื้นที่บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ 6 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการไถกลบและผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการปล่อยก๊าซ และลดการเผาตอซังเพื่อลดหมอกควัน โดยโครงการดังกล่าวดำเนินการโดยสถานีพัฒนาที่ดินแพร่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7 กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืชร่วมดำเนินการ โดยมีส่วนราชการ นายชุม สะเอียบคงนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ พร้อมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาอบต.สะเอียบ นายก้องไมตรี เทศสูงเนิน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ยมเจ้าหน้าที่ พนักงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปกครองท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย แพทย์ สารวัตร ประชาชน เกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการ ให้การต้อนรับ โดยมี นายศุภชัย บุญทิพย์ นายอำเภอสอง ได้กล่าวรายงานสถานการณ์พื้นที่ตำบลสะเอียบ อาชีพ สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันที่ผ่านมา                       ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้รับการกล่าวรายงานโดย นายณัฏพสิษฐ์ เถระรัชชนานนท์ผู้อำนวยการพัฒนาที่ดินแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรลดการเผาตอซัง หรือเศษวัสดุในพื้นที่การเกษตร เพื่อส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซ และลดหมอกควัน จากการเผา ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้คุณค่าของปุ๋ยพืชสด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อมเปิดโครงการโดยการลั่นฆ้องจำนวน 3 ที และมอบประกาศเกียรติคุณให้กับกับเกษตรกร จำนวน2 ราย มีนายบุญช่วย สาทุ่ง เกษตรกรบ้านป่าเลา หมู่ที่3 นายวิชัย รักษาพล เกษตรกรบ้านดอนชัยหมู่ที่1 พร้อมมอบเมล็ดปอเทืองให้กับเกษตรกรของตำบลสะเอียบ อีกจำนวน3ราย มีนายศรีวัน หลีแก้วสาย นายศักดิ์ สะเอียบคง นายม้อน บุญทิพย์ พร้อมบันทึกภาพร่วมหน่วยงาน หลังจากนั้นประธานในพิธีร่วมหน่วยงานหว่านเมล็ดปอเทืองในพื้นแปลงและเยื่อมชมการผลิตปุ๋ยคอก ของพัฒนาที่ดินแพร่ ส่วนควบคุมไฟป่าแม่ยม ส่วนอุทยานแห่งชาติแม่ยม และเดินทางกลับเป็นเสร็จพิธี    ณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา ผู้สื่อข่าวรอบรั้วภูธรนิวส์รายงานจากจังหวัดแพร่ โทร 095-6750659

จ.เลย​ -​กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี จัดกิจกรรมทัศนศึกษาในพื้นที่ กกล.ป้องกันชายแดน (One Day Trip) ในพื้นที่ จังหวัดเลย

ตามแนวทางของ ทบ. ประจำปี 2567เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2567 พลตรี นรธิป โพยนอก ผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี/ผู้อำนวยการรักษาควา...