21 สิงหาคม 2567

เชียงรายฝนตกวันที่ 8 ชาวบ้านอ่วมทั้งถนนขาดน้ำท่วมบ้านเรือนกว่า 7,500 ครัวเรือน และพื้นที่ทางการเกษตร12,828 ไร่ บ่อกุ้งจมน้ำ68 บ่อ จากเหตุการณ์ที่จังหวัดเชียงรายมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง​

ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. 67 ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ โดยทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศวันนี้ไว้ว่ามีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ส่งผลให้จังหวัดเชียงรายมีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ อ.เวียงแก่น ที่ ตำบลปอ  ม.1 ถึง ม.21  น้ำป่าไหลหลากรุนแรงเข้าท่วมบ้านเรือน 2,000 หลังคาเรือน โดยเฉพาะที่โรงเรียนบ้านปางหัดน้ำได้เข้าท่วมที่จอดรถภายในโรงเรียน    อำเภอเทิง พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 6 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลเวียง น้ำเข้าท่วมขังบ้านเรือนใน 12 หมู่บ้านร่วมถึงพื้นที่ทางการเกษตร 11,885 ไร่ บ่อเลี้ยงกุ้ง 68 บ่อ น้ำป่ายังได้ไหลเข้าไปในโรงเรียนเทิงวิทยา ครูและนักเรียนในช่วงแรกติดค้างในโรงเรียนโดยในขณะนี้ทางกู้ภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำเรือเข้าให้การช่วยเหลือไปอยู่ในที่สูงแล้ว  ตำบลปล้อง น้ำท่วมขังในบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรจำนวน 5 หมู่บ้าน ม.3, 4, 8, 10 และ ม.12 ตำบลสันทราย 7 หมู่บ้าน น้ำท่วมไหลเข้าท่วมขังในบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร ม.1 ถึง ม.7  ตำบลตับเต่าได้รับผลกระทบ 11 หมู่บ้าน โดยน้ำป่าได้ไหลหลากรุนแรงทำให้ถนนสาย 1155 เส้นทางเทิง-ภูชี้ฟ้า ก่อนถึงสำนักงาน อบต.ตับเต่า ขาดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง และมีรายงานประชาชนตกค้างไม่สามารถออกจากพื้นที่ได้  ตำบลหงาว พื้นที่ได้รับผลกระทบ 20 หมู่บ้าน น้ำป่าได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรประชาชนยังตกค้างในพื้นที่เนื่องจากกระแสน้ำไหลรุนแรง และตำบลหนองแรดพื้นที่ได้รับผลกระทบ 7 หมู่บ้าน น้ำป่าได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรเป็นวงกว้าง ขณะที่ อำเภอพญาเม็งราย ได้รับผลกระทบ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลเม็งราย 1 หมู่บ้านคือ ม.12  ตำบลแม่ตำ 2 หมู่บ้านคือ ม.1, ม.9 น้ำได้ล้นตลิ่งเฉียบพลันก่อนไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน ถนนและพื้นที่ทางการเกษตร          ป้องกันภัยจังหวัดเชียงรายได้รายงานว่า สถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายตั้งแต่วันที่ 16- 21 สิงหาคม 2567 พื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 10  อำเภอ 29 ตำบล 192 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 7,591 ครัวเรือน เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 12,828 ไร่ บ่อปลา/บ่อกุ้ง 68 บ่อ โดยไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งความเสียหายยังอยู่ในระหว่างสำรวจโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว             

ไม่มีความคิดเห็น:

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมบินสำรวจบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและวางแผนในการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัย จังหวัดนครสวรรค์

วันที่ 9 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายกานตพันธุ์ พิศาลสุขสกุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายชุมพิ...