02 มีนาคม 2568
นครสวรรค์-สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ 2 มีนาคม 2568 วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
วันที่ 2 มีนาคม 2568 นางสาวชุติพร เสชัง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์เป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2568 เพื่อเทิดพระเกียรติ น้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการช่างของพระองค์ ณ หอประชุมเทวสภา สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ โดยมีนายบดินทร์ เกษมศานติ์ นายเศวต เพชรนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในกิจกรรม ในการนี้ นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ ได้กล่าวถึงที่มาของการถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย" ดังนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน และพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการช่างของไทย ความตอนหนึ่งว่า “....ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบันวิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ ทางการออกแบบ ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริง ๆ ประการที่สามได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำมีตลาด ที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า” พระองค์ได้ฝากความคิดนี้ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญจากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว สะท้อน ให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลที่มีพระราชดำริถึงความสำคัญของช่างฝีมือซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อทุกคนในสังคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาให้มีฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพราะนั่นหมายถึง คุณภาพของสินค้าและบริการตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่มีต่อประเทศไทย แม้จะผ่านมาถึง 55 ปีแล้ว ยังคงทันสมัยและนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานได้น้อมนำใส่เกล้ามาปฏิบัติ ในการพัฒนากำลังแรงงาน ให้มีฝีมือ พัฒนาสู่มาตรฐานฝีมือแรงานแห่งชาติสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งด้านการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ สร้างการยอมรับ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมโลกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์เป็น "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย" พร้อมกับกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ วันที่ 2 มีนาคม 2568 นางสาวชุติพร เสชัง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์เป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2568 เพื่อเทิดพระเกียรติ น้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการช่างของพระองค์ ณ หอประชุมเทวสภา สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ โดยมีนายบดินทร์ เกษมศานติ์ นายเศวต เพชรนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในกิจกรรม ในการนี้ นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ ได้กล่าวถึงที่มาของการถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย" ดังนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน และพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการช่างของไทย ความตอนหนึ่งว่า “....ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบันวิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ ทางการออกแบบ ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริง ๆ ประการที่สามได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำมีตลาด ที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า” พระองค์ได้ฝากความคิดนี้ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญจากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว สะท้อน ให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลที่มีพระราชดำริถึงความสำคัญของช่างฝีมือซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อทุกคนในสังคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาให้มีฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพราะนั่นหมายถึง คุณภาพของสินค้าและบริการตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่มีต่อประเทศไทย แม้จะผ่านมาถึง 55 ปีแล้ว ยังคงทันสมัยและนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานได้น้อมนำใส่เกล้ามาปฏิบัติ ในการพัฒนากำลังแรงงาน ให้มีฝีมือ พัฒนาสู่มาตรฐานฝีมือแรงานแห่งชาติสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งด้านการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ สร้างการยอมรับ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมโลกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์เป็น "พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย" พร้อมกับกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ #สถานบันพัฒนาฝีมือแรงงาน8นครสวรรค์#รอบรั้วภูธรซีซั่น 2 (0619782952-0838823240)#สถานบันพัฒนาฝีมือแรงงาน8นครสวรรค์#รอบรั้วภูธรซีซั่น 2 (0619782952-0838823240)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
น่าน - Nan Pride Festival 2025 รวมพล LGBTQ+ เดินขบวนพาเหรด เฉลิมฉลองความเท่าเทียม
ค่ำวานนี้ 5 ก.ค. 68 ที่ลานข่วงน้อย ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นางวิไลวรรณ บุดาสา รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธ...
-
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 กันยายน 2567 ตัวแทน เกษตรกร อำเภอตากฟ้า ตาคลี ไพศาลี และอำเภอท่าตะโก และเกษตรกร ที่ได้รั...
-
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พศ 2567 นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ประธานกรรมาธิการปกครอง และคณะกรรมาธิการปกครอง ได้เชิญสมาคมกำนัน/คณะก...
-
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2567 เวลา 18.00 น ที่ทำเนียบรัฐบาล นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล พร้อมภรรยา ร่วมงานสโมสรสันนิบาต เฉล...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น