16 กรกฎาคม 2568
ม.เจ้าพระยาจัดแข่งขันหุ่นยนต์และอีสปอร์ตระดับอาเซียนชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 3
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาจัดแข่งขันหุ่นยนต์และกีฬาอีสปอร์ตระดับอาเซียน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ครั้งที่ 3 ระหว่าง พุธ-อาทิตย์ที่ 9-13 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาและเซ็นทรัลนครสวรรค์ ดร.ดารัตน์ ศิริวิริยะกุล วิภาตะกลัศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา แถลงกับสื่อมวลชนว่า จากการที่มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆทั้งหน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ ร่วมกันจัดการแข่งขันหุ่นยนต์อาเซียนและกีฬาอีสปอร์ต ครั้งที่ 3 ประจำปี 2568 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี” ระหว่างวันพุธที่ 9 - อาทิตย์ 13 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาและเซ็นทรัลนครสวรรค์ ปรากฏว่ามีสถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาใน 52 จังหวัดทั่วประเทศ ส่งทีมนักเรียน-นักศึกษา จำนวน 691 ทีม จำนวนกว่า 2,000 คน เข้าร่วมแข่งขัน หุ่นยนต์ 639 ทีม กีฬาอีสปอร์ต 52 ทีม การจัดการแข่งขันทุกประเภท ทุกระดับ ทุกสนาม ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยในบรรยากาศของความสนุกสนาน ตื่นเต้น ลุ้นระทึก และชวนตื่นตาตื่นใจกับศักยภาพของเยาวชนทุกระดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา กล่าวต่อไปอีกว่า การแข่งขันหุ่นยนต์อาเซียนและกีฬา อีสปอร์ตครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2568 ที่มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ และภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ทำให้นักเรียนนักศึกษาทุกระดับได้รับประสบการณ์ องค์ความรู้ สามารถพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ และยังเพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัล กลศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บูรณาการเข้ากับความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ได้อย่างดียิ่ง ทั้งยังเพิ่มพูนสมาธิ ความมีน้ำใจนักกีฬา ตลอดจนสามารถใช้กติกาการแข่งขันในระดับสากลได้เป็นอย่างดี เป็นการเปิดโลกทัศน์ทางวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์และมนุษยสัมพันธ์ในวงกว้าง รวมทั้งก่อเกิดเครือข่ายในการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางหุ่นยนต์และอีสปอร์ตได้อย่างมีประสิทธิผลดร.จิรนันท์ กมลสินธุ์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการแข่งขันหุ่นยนต์อาเซียน ทีมที่ชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี- หุ่นยนต์บังคับมือ (KTIS) ระดับประถมศึกษารางวัลชนะเลิศ โรงเรียนฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา - หุ่นยนต์บังคับมือ (KTIS) ระดับ ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จังหวัดตาก- หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Wall Tracking Rescue) ระดับ ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนพรเจริญวิทยา จังหวัดบึงกาฬ- หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Gathering) ระดับ ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ- หุ่นยนต์อัตโนมัติ (KTIS) Camera Vision ระดับมัธยมศึกษา- อุดมศึกษารางวัลชนะเลิศ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา จังหวัดปทุมธานีสำหรับกีฬาอีสปอร์ต ระดับไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยพระราชทานได้แก่ โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี - หุ่นยนต์บังคับมือ (KTIS) ระดับ ประถมศึกษารางวัลชนะเลิศ โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์- หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Wall Tracking Rescue) ระดับ ประถมศึกษารางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบ้านหนองกุงศรีโพธิ์ศรีสมพร จังหวัดหนองบัวลำภู- หุ่นยนต์บีม (BEAM Racing) ระดับ ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวชรางวัลชนะเลิศ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี- หุ่นยนต์อัตโนมัติวิ่งตามเส้น (LINE Fast) ระดับ ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวชรางวัลชนะเลิศ Shrewsbury International School Bangkok กรุงเทพมหานคร- การแข่งขันโดรน แบบ Indoor ระดับ ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวชรางวัลชนะเลิศ โรงเรียนเลิงนกทา จังหวัดยโสธร- หุ่นยนต์ซูโม่ (SUMO ROBOT) 1,500G RC ระดับ ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวชรางวัลชนะเลิศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ๒ จังหวัดฉะเชิงเทรา- หุ่นยนต์อัตโนมัติ Line Fast No Fan ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ- โครงงานหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ ระดับ ไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวชรางวัลชนะเลิศ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ เชียงใหม่ / โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม- หุ่นยนต์อัตโนมัติ (KTIS)Robot Athletic ระดับ อาเซียนไม่เกินปริญญาตรีรางวัลชนะเลิศ โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง จังหวัดขอนแก่น- หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Wall Tracking Rescue) ระดับ มัธยมศึกษารางวัลชนะเลิศ โรงเรียนพรเจริญวิทยา จังหวัดบึงกาฬ- หุ่นยนต์บังคับมือ (KTIS) ระดับ มัธยมศึกษารางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบ้านโพธิ์ประสาท จังหวัดนครสวรรค์ “นอกจากนี้ ยังเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาจากการที่มีผู้เข้าแข่งขัน ครู อาจารย์ กองเชียร์ และผู้ปกครอง รวมไม่น้อยกว่า 4,000 คน เดินทางเข้ามาสู่จังหวัดนครสวรรค์ในห้วงเวลาการแข่งขันตลอด 5 วันดังกล่าว ปรากฏว่าส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์จากการที่เกิดความคึกคักอย่างยิ่งทั้งต่อโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้านของฝาก ของที่ระลึก แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ อีกด้วย ทั้งมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาและภาคีเครือข่ายยังได้รับการประเมินจากผู้เข้าแข่งขันว่ามีความพึงพอใจและตั้งใจจะมาร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์และกีฬาอีสปอร์ตระดับอาเซียนที่มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ซึ่งปัจจุบันเป็นสนามการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ในปีต่อไปอีกอย่างแน่นอน เหมือนกับที่เกือบทุกทีมได้เข้าร่วมแข่งขันในทุกปีที่ผ่านมาโดยตลอด” อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยากล่าวในท้ายที่สุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
นครสวรรค์ : กลับมาอีกครั้งลือลั่นสะท้านเมืองสี่แคว ฉลองยิ่งใหญ่ เชิญยิ้มเชิญอร่อย ครบรอบ 2 ปี
ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ ขอเชิญชวนทุกท่านเพลิดเพลินกับทัพร้านเด็ด ร้านดัง เมนูโดน อาหารคาว-หวาน และพบทีมตลกดังจากรายการก่อน...
-
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 กันยายน 2567 ตัวแทน เกษตรกร อำเภอตากฟ้า ตาคลี ไพศาลี และอำเภอท่าตะโก และเกษตรกร ที่ได้รั...
-
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พศ 2567 นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ประธานกรรมาธิการปกครอง และคณะกรรมาธิการปกครอง ได้เชิญสมาคมกำนัน/คณะก...
-
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2567 เวลา 18.00 น ที่ทำเนียบรัฐบาล นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล พร้อมภรรยา ร่วมงานสโมสรสันนิบาต เฉล...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น